ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะวิทยา วิเคราะห์ปมเจอพระพุทธรูปกลางแม่น้ำโขง เป็นไปได้แค่ไหนที่มีอายุ 500 ปี ชี้จุดสังเกต
จากกรณีเมื่อช่วงเช้า วันที่ 16 พ.ค. เวลา 10.20 น. ที่เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว มีการขุดการค้นทางโบราณคดี พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงฝังอยู่ในทราย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบในบริเวณนี้
พบพระพุทธรูปใต้น้ำโขง องค์ใหญ่งดงามที่สุด ลุ้นให้ตรงกับพระเกศโมลีในพิพิธภัณฑ์
รู้จักพระเกศโมลี “เปลวรัศมี” ปริศนาแห่งเชียงแสน ร้อยกว่าปียังหาองค์พระพุทธรูปไม่พบ
อ.เฉลิมชัย ข้ามไปฝั่งลาว ชมพระพุทธรูปที่ขุดจากแม่น้ำโขง เห็นของจริงบอกโชคดีมากๆ
เฟซบุ๊ก พยุงศักดิ์ อัครเกื้อกูล ของนายพยุงศักดิ์ อัครเกื้อกูล หรือ อาจารย์ต๋อง หรือ ฉายา ครูบาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะวิทยา ได้มีการโพสต์ถึงประเด็นดังกล่าวว่า ตนเองเป็นลูกศิษย์อาจารย์ประกอบ บุญยงค์ เทพเจ้าแห่งวิชาโลหะวิทยาเมืองไทย ผู้แปลและแต่งตำราโลหะวิทยาคนแรกของประเทศไทย ชีวิตนี้ตนงมอยู่กับโลหะทุกชนิดตั้งแต่เด็กยันแก่ สามารถจำแนกโลหะประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
โลหะผสม มีทองแดงเป็นโลหะหลัก และมีทองเหลือง อะลูมิเนียม ตะกั่ว ดีบุก เงิน เป็นโลหะรอง เราเรียกโลหะชนิดนี้ว่า บรอนซ์ เมื่อมันจมน้ำจมดินไม่ถึง 100 ปี โลหะเหล่านี้จะยุ่ย ผุ กร่อน ทะลุจนพรุนไปหมด ไม่เหลือเป็นองค์พระพุทธรูปสมบูรณ์แบบอย่างที่ขุดเจอแน่นอน
ส่วนพระโลหะที่นอนแช่อยู่ใต้ดินชุ่มน้ำกว่า 500 ปี ขุดขึ้นมาสวยงาม ไร้รอยผุ แบบนี้บ้าไปแล้ว การที่พระแช่น้ำนาน ๆ อย่างมากให้ 50 ปีก็เก่งแล้วที่จะไม่มีริ้วรอยอะไรเลย
บทสรุปของเรื่องนี้คือ เป็นพระจริงแท้แน่นอน แต่ไม่ถึง 500 ปี อาจจะเพิ่งหล่อได้ไม่ถึง 2-3 เดือนแล้วคนมือดีเอามาฝังสด ๆ ใหม่ ๆ เพื่อสร้างกระแสหากินกับผู้งมงาย
นอกจากนี้ ยังมีจุดสังเกตอีกจุดคือตรงรอยเชื่อมที่คอพระ ซึ่งเหมือนกับการหล่อโลหะหลายชิ้นประกอบกัน เป็นวิธีการสมัยใหม่
และหากดูจริง ๆ จะพบว่าอายุของโลหะไม่ถึงปีด้วยซ้ำ หากโลหะนอนอยู่ใต้น้ำกว่า 500 ปีอย่างที่เชื่อจริง ๆ
ก็เป็นไปได้ที่โลหะจะเกิดปฏิกิริยา oxidation เกิดการยุ่ยสลายผุพัง เป็นรู เป็นหลุมจากการผุกร่อนไปทั้งองค์พระแล้ว